คำชี้แจงในกรรมาธิการเศรษฐกิจเรื่องเกี่ยวข้องอาคาร สตง ถล่มจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568
มุมมองคนอยู่ในแวดวงการออกแบบก่อสร้าง อดีตคณะกรรมการของรัฐตาม พ.ร.บ.จัดซื้อ จัดจ้างฯ
1. ปัญหาอาคารที่พังถล่ม ยังไม่ข้อมูลแน่ชัดว่าเกิดสาเหตุใด ต้องรอผลการศึกษาผู้เชี่ยวชาญชุดที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มอบหมายเมื่อวันอังคาร 8 เมษายน 2568
2. ชนิดของเหล็กที่ใช้ยังไม่สามารถระบุเหตุผลทางวิชาการอันใดว่าเกี่ยวข้องอาคารถล่มได้เพราะเหล็ก T และ IF ตามที่ปรากฏเป็นข่าวมีมาตรฐานมอก รองรับและใช้กับอาคารในประเทศไทยมานานแล้ว
3. รัฐเองไม่เคยให้ความช่วยเหลือกับธุรกิจออกแบบก่อสร้างเลยจนกลุ่มธุรกิจนี้อ่อนแอเกือบหมดตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน
4. ราคาค่าก่อสร้างส่วนงานอาคารไม่สอดคล้องกับราคาวัสดุในปัจจุบันและมีการกำหนดการประมูลโดยที่ส่วนราชการไม่สามารถเลือกรายที่มีคุณภาพแต่ราคาสูงกว่าในทางปฎิบัตื ทำให้เลยมีปัญหาในการที่ต้องควบคุมงานที่ผู้รับจ้างบางรายได้งานไปแล้วทิ้งงาน หรือพยายามลดต้นทุนจนทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากที่เห็น
5. การจดทะเบียนผู้รับจ้างยังขาดหมวดผู้รับจ้างงานอาคารเพราะกติกาที่กรมบัญชีกลางกำหนดในด้านบุคคลากรที่อาจจะไม่สอดคล้องในทางปฏิบัติจริง เนื่องจากกำหนดหมวดบุคลากรเป็นจำนวนมากและไม่สอดคล้องกับการขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาประเภทอื่นแบบงานสะพาน ถนน ชลประทาน ทำให้ข้อกำหนดที่เป็นประกาศขึ้นทะเบียนผู้รับเหมางานอาคารเป็นสร้างต้นทุนผู้รับจ้างกว่า 200,000 รายในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ประมูลงาน
6. การตรวจสอบผู้รับจ้างที่ไม่ได้ประกอบการจริงทั้งงานที่ปรึกษาและงานรับเหมาเพื่อจำกัดนอมินีไม่ให้เข้าวงจรของการก่อสร้างทำได้ง่ายๆเพียงจะกำหนดให้ที่ปรึกษาและผู้รับเหมาขึ้นทะเบียนกับสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องงานที่ปรึกษาหรือสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยก่อนขึ้นทะเบียนกับรัฐเพราะสมาคมวิชาชีพแบะสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯมีสมาชิกและกรรมการที่ประกอบธุรกิจจริงทำให้สามารตรวจสอบผู้ที่เข้ามาเป็นนอมินีได้กลับกัน ส่วนราชการในการจดทะเบียนบริษัทและขึ้นทะเบียนเพียงเอกสารครบก็จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนให้จึงเป็นที่มาไม่ได้ผู้ประกอบกิจการที่ตั้งใจประกอบกิจการแบบนั้นจริงๆในรูปกิจการร่วมค้า
7) เนื่องจากการประมูลงานในรูปกิจการร่วมค้ากับส่วนราชการนั้น ส่วนบริษัทของกิจการร่วมค้าที่เป็นกิจการรองที่จะยื่นประมูลฟันราคาเพื่อทิ้งงานหรือลดคุณภาพในการจดทะเบียนบริษัทเพียงเอกสารในการจดทะเบียนบริษัทครบก็สามารถใช้มาเป็นกิจการร่วมค้ารองได้
จึงเป็นที่มานอมินีผู้ที่ไม่ได้ผู้ประกอบกิจการจริงได้งานก่อสร้างของรัฐและสร้างความเสียหายเนืองๆ
รัฐบาลควรเตือนผู้เกี่ยวข้องการให้ข่าวเรื่องเหล็กเสริมอาจเป็นการให้ข้อมูลเท็จ เรื่องดังกล่าวจนถึงปัจจุบันส่งผลกระทบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดการชะงักงันในการก่อสร้างรวมถึงไม่เชื่อมั่นอาคารที่ก่อสร้างไปแล้ว ที่จะส่งผลต่อ สมาคมวิชาชีพ สมาคมก่อสร้าง สภาวิศวกร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสมาคมค้าเหล็ก สมาคมท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม
โดย ทศพร ศรีเอี่ยม อดีตกรรมการอำนวยการ วสท.