Friday, November 22, 2024
Latest:
Construction

สมาคมอุตฯ ก่อสร้างวอนรัฐเร่งแก้ปัญหาราคาเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตปรับตัวสูงขึ้น ซ้ำเติมพิษ COVID-19 ชี้อาจนำไปสู่การทิ้งงานได้

จากภาวการณ์ผันผวนของราคาเหล็กที่เป็นส่วนประกอบหลักของงานก่อสร้างจากปี พ.ศ.2563 จนถึงปัจจุบันสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ทำให้ผู้ประกอบการก่อสร้างประสบปัญหาต้นทุนที่ผันผวนสูงขึ้นอย่างผิดปกติ จากสถานการณ์ราคาเหล็กที่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง รุนแรงทั่วโลก และยังมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นในระยะยาว

ลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ประกอบการก่อสร้างในประเทศ กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกผู้ประกอบการก่อสร้างจำนวนมาก ว่าได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ราคาเหล็กมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2563 ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการก่อสร้าง ซึ่งผู้ประกอบการก่อสร้างไม่สามารถต่อสู้และรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจนำไปสู่การทิ้งงาน และการเลิกจ้างงาน ปัจจุบัน ภาคการก่อสร้างมีการจ้างงานแรงงานกว่า 3 ล้านคน อีกทั้งยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ประชาชน ภาควัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร และการขนส่ง ซึ่งงานก่อสร้างทั้งหมด นับเป็น 8-9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ

ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น สมาคมฯ จึงขอให้ภาครัฐพิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง ดังนี้

มาตรการเร่งด่วน

  1. พิจารณายกเลิกส่วนต่างค่าปรับราคา (ค่า K) ± 4% จากสูตรการคำนวณค่าปรับราคา เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 – ธันวาคม 2565 กับโครงการที่ยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ และโครงการที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในอนาคต ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวได้เคยถูกพิจารณาโดยมติคณะรัฐมนตรีมาแล้ว เมื่อมีความผันผวนอย่างมากของวัสดุก่อสร้างในปี พ.ศ.2551
  2. ขอให้พิจารณาใช้ฐานดัชนีราคาในเดือนที่คิดราคากลางในการคำนวณค่า K แทนการใช้ดัชนีราคาในเดือนที่เปิดซองประกวดราคา เพื่อให้สะท้อนฐานดัชนีราคาที่ใช้ในการคิด
  3. พิจารณาเร่งรัดการเบิกเงินชดเชยค่า K ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ยื่นขอเบิกจ่ายเงินชดเชย
  4. พิจารณาการคิดราคากลางให้สะท้อนกับราคาเหล็กเสริมคอนกรีตที่แท้จริงในท้องตลาด โดยใช้ราคาไม่เกิน 30 วันก่อนประกาศประกวดราคา

มาตรการระยะยาว

  1. พิจารณาเร่งรัดให้มีการปรับสูตรการคำนวณค่า K ให้สะท้อนโครงสร้างต้นทุนที่เป็นธรรมและใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด