Monday, November 25, 2024
Latest:
News

ผลงาน “ลานละคร และอ้อ-มา-กา-เสะ” คว้ารางวัลชนะเลิศ “MQDC Design Competition 2023”ออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมืองและพื้นที่กึ่งสาธารณะสำหรับเมืองยุคใหม่

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดงานมอบรางวัลแก่ทีมผู้ชนะจากเวทีประกวดผลงานออกแบบพื้นที่สาธารณะ MQDC Design Competition 2023 ในหัวข้อRE-imagining Thai Social Space: City Festival as Design Intervention” การประกวดแนวคิดการออกแบบพื้นที่กิจกรรมและเทศกาล ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชนและเมือง ที่เฟ้นหาสุดยอดผลงานออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมืองและพื้นที่กึ่งสาธารณะสำหรับเมืองยุคใหม่ เพื่อสร้างสรรค์เมืองแห่งงานเทศกาล พร้อมเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเมือง กระตุ้นการท่องเที่ยว และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

สำหรับทีมนักศึกษาที่ได้รางวัลชนะเลิศ (Gold) ได้แก่ ทีม A222 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับผลงาน “ลานละคร” และทีมบุคคลทั่วไป ได้แก่ ทีม B124 กับผลงาน “อ้อ-มา-กา-เสะ” โดยได้รับเกียรติบัตร เงินสนับสนุนทีมละ 200,000 บาท และรางวัลศึกษาดูงานการออกแบบพื้นที่สาธารณะในต่างประเทศ

ไชยยง รัตนอังกูร หัวเป็หน้าคณะที่ปรึกษา Creative Lab by MQDC กล่าวว่า โครงการ MQDC Design Competition 2023 ในหัวข้อ “RE-imagining Thai Social Space: City Festival as Design Intervention” เป็นการประกวดแนวคิดการออกแบบพื้นที่กิจกรรมและเทศกาล ในพื้นที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชนและเมือง ที่เฟ้นหาสุดยอดผลงานออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมืองและพื้นที่กึ่งสาธารณะสำหรับเมืองยุคใหม่ เพื่อสร้างสรรค์เมืองแห่งงานเทศกาล พร้อมเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเมือง กระตุ้นการท่องเที่ยว และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดย MQDC ได้ร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการทั้งจาก Creative Lab MQDC CDAST และคณะกรรมการจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศและระดับโลกได้พิจารณาคัดเลือกผลงานอย่างเข้มข้นทุกชิ้นงานที่ส่งเข้ามาประกวด จากทีมคนรุ่นใหม่ทั้งนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ รวมถึงบุคคลทั่วไปสนใจเข้าร่วมสมัครแข่งขันประกวดแบบมากกว่า 525 ทีม รวมกว่า 1,222 คน ซึ่งตลอดระยะเวลาการ 3 เดือน ผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบต่าง ๆจากวิทยากรไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานตามโจทย์ของการประกวดในครั้งนี้ รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการออกแบบสร้างเมือง สร้างชุมชน สร้างความเป็นอยู่ที่ดียกระดับพื้นที่เมืองนั้นๆให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

ส่วนการจัดประกวดในครั้งต่อไปนั้น ทางคณะผู้จัดการประกวดจะยังคงโจทย์การออกแบบที่ให้ความสำคัญกับเมือง ชุมชน ประชาชน พื้นที่สำคัญภายในชุมชน การอนุรักษ์ของดีของท้องถิ่นและการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับการอยู่อาศัยของคนทุก ๆกลุ่มทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ด้านไมเคิล ปริพล ตั้งตรงจิตร ผู้แทนสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) กล่าวว่า สำหรับโจทย์ในการออกแบบในครั้งนี้มุ่งเน้น การออกแบบสถาปัตยกรรม หรือการออกแบบองค์ประกอบใหม่ของพื้นที่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของชุมชน การออกแบบกิจกรรมหรืองานเทศกาลชั่วคราวตามบริบทของพื้นที่ การออกแบบที่สะท้อนเอกลักษณ์ และความร่วมมือของพื้นที่ การออกแบบที่สร้างบรรยากาศที่สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความมีชีวิตชีวา และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับเมือง สำหรับความต้องการด้านพื้นที่ โดยมีให้เลือก 2 กลุ่มคือผู้เข้าประกวดที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล จะใช้พื้นที่ในย่านสุขุมวิทตอนใต้ ได้แก่ สำนักงานเขตพระโขนง เพลินพระโขนง ลานหน้าโรงเรียนวัดธรรมมงคล 101 True Digital Park Cloud 11 และ Bitec Buri และกลุ่มผู้เข้าประกวดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ให้ใช้พื้นที่สาธารณะของเมือง เช่น ลานโล่งหน้าอาคารสำคัญ หรือพื้นที่ย่านเมืองเก่าในพื้นที่ของตัวเองนำเสนอผลงาน ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการศึกษาข้อมูล และนำเสนอตามหลักการออกแบบตอบโจทย์ต่อการใช้พื้นที่เมืองในอนาคตของคนเมืองยุคใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กระตุ้นการท่องเที่ยว เสริมสร้างภาพลักษณ์ของเมือง จนทำให้เกิดการพัฒนาย่านต่าง ๆ ด้วยสถาปัตยกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง เพื่อสร้างสรรค์เป็นเมืองแห่งงานเทศกาล หรือการจัดการกิจกรรมชั่วคราว พร้อมขับเคลื่อนเมืองให้น่าอยู่อาศัยมากขึ้นสำหรับทุกคน ทั้ง 20 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศนั้นมีการดีไซน์ ออกแบบตอบโจทย์ที่น่าสนใจ สามารถนำไปสร้างพื้นที่ชุมชนให้เกิดมูลค่าทางการท่องเที่ยวได้

สำหรับรางวัลการประกวดแบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ ประเภทนิสิตนักศึกษาและประเภทบุคคลทั่วไป ประเภทละ 3 รางวัล (Gold Silver และ Bronze) รางวัลชมเชยประเภทละ 3 รางวัล และรางวัล Popular Vote 1 รางวัล โดยแต่ละทีมจะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล และผู้ชนะเลิศระดับ Gold จะได้รางวัลเดินทางดูงานการออกแบบพื้นที่สาธารณะในต่างประเทศ โดยรางวัลชนะเลิศ (Gold) ประเภทนักศึกษา ได้แก่ ทีม A222 โดยชยพล สิทธิกรวรกุล จิรายุส วงศ์เจริญสถิตย์ วศิน เซี่ยงจันทร์ และปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงาน: ลานละคร ออกแบบพื้นวัดธรรมมงคลเป็นพื้นที่จัดการแสดงที่ไร้ขอบเขตที่ทุกคนมาแสดงความสามารถในด้านต่าง ๆได้อย่างอิสระ มีทั้งการแสดงศิลปะพื้นบ้าน ร้องแพลง และเล่นละคร เป็นต้น

ส่วนรางวัลชนะเลิศ (Gold) ประเภทบุคคลทั่วไป ได้แก่ ทีม B124 โดย ศักดิธัช พิทักษ์กชกร, สิตานัน ธีรเจริญชัย, ธรรม์ดา ฤกษ์ไพศาล และภัทรชนน วรานุกูลศักดิ์จากผลงาน: อ้อมากาเสะเป็นการออกแบบแบบเทศกาลอาหารใช้พื้นที่ของ Cloud 11 ซึ่งติดอยู่กับคลองบางอ้อ จัดเทศกาล อ้อ-มา-กา-เสะ ที่พลิกจุดด้อยของย่านพระโขนง ให้กลายเป็นโอกาสของร้านอาหารเล็กๆและธุรกิจย่อมในชุมชนได้มีพื้นที่ขายของและเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ทั้งนี้ ทีมชนะเลิศประเภททีมนักศึกษาและทีมบุคคลทั่วไป จะได้รับเกียรติบัตร เงินสนับสนุนทีมละ 200,000 บาท และรางวัลศึกษาดูงานการออกแบบพื้นที่สาธารณะในต่างประเทศ